This post is also available in:
ปรากฎการณ์บ้านถูกทิ้งให้รกร้าง “อาคิยะ” akiya (空き家) เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 50 และเริ่มเป็นที่สนใจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี่เอง เพราะมันเริ่มก่อปัญหาทั้งสังคมเเละสิ่งแวดล้อม
อะไรคืออาคิยะ?
ในภาษาญี่ปุ่นคำว่า “akiya” แปลตามตัวอักษร เเปลว่า “บ้านที่ว่างเปล่า” เป็นการอธิบายปรากฏการณ์การถูกปล่อยทิ้งปล่อยร้าง กรณีบ้านในต่างจังหวัดที่ห่างไกล การปล่อยบ้านให้ทิ้งร้างเกิดจากคนอยู่อาศัยลดลง
ในทางกฎหมาย จะพิจารณาอย่ารอบคอบ เเละลงความเห็นว่าทรัพย์สินนั้นเข้าข่ายว่าเป็น บ้านทิ้งร้างหรือ akiya หรือไม่
กฎหมาย จะพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของผู้อยู่อาศัยในบ้านนั้นตลอดทั้งปี รวมถึงการใช้น้ำ ไฟ และแก๊สอีกด้วย
เนื่องมาจากผลสำรวจจากกระทรวงมหาดไทยของญี่ปุ่นล่าสุดคือ ในจำนวนบ้าน 8 หลัง จะมีบ้านที่เป็นบ้านปล่อยทิ้งร้าง akiya 1 หลัง (ในบางจังหวัดอัตราส่วนอาจเป็น1/5) โดยการคาดการณ์จะมีบ้านที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง อยู่ทั้งประเทศประมาณ 8.5 ล้านหลัง
โดยบ้านอาคิยะ จะเเบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือ: กลุ่มเพื่อให้เช่า กลุ่มเพื่อใว้ขาย กลุ่มสำหรับคนอยากได้บ้านหลังที่ 2 และกลุ่มนอกเหนือจากกล่าวมาแล้ว ในหลายๆปีที่ผ่านมาจำนวนบ้านในกลุ่มให้เช่าและกลุ่มไว้เพื่อขาย ลดจำนวนลงเพราะ2กลุ่มแรก ได้ถูกจัดให้กลายมาเป็นกลุ่มอื่นๆเเทน ซึ่งแม้เเต่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ให้ความสนใจ
ทำไมมันมีเยอะขนาดนี้?
การเกิดบ้านปล่อยร้าง เกิดเป็นปัญหาทางสังคม 2 ด้านที่กระทบกับญี่ปุ่นเอง นั่นก็คือ อัตราการเกิดที่ลดลงเรื่อยๆ และคนรุ่นใหม่ ที่พากันย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองหลวง คุณเชื่อหรือไม่ว่าตั้งแต่ปี ค.ศ 2008 เป็นต้นมาเด็กทารกเกิดใหม่ของญี่ปุ่นลดลงถึง 1 ล้านคน?
อาจจะเป็นเพราะด้วย คนญี่ปุ่นมีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้น เราจึงมักจะเห็นผู้สูงอายุถูกลูกหลานบังคับให้ทิ้งที่อยู่ดั้งเดิมของตัวเอง เพื่อไปอยู่อาศัยในบ้าน หรืออพาร์ตเมนต์ที่เล็กและสะดวกสบาย และอยู่ใกล้เมืองหลวงมากกว่า
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อผุ้สูงอายุจากไป บ้านกลายเป็นสมบัติส่งต่อให้ทายาทที่ไม่รู้จะเอาบ้านเหล่านั้นไปทำอะไร เพราะเนื่องด้วยบ้านเหล่านั้นอยู่ไกลความเจริญเกินไป และบ้านที่เป็นสมบัติตกทอดมาถึงนั้น เต็มไปด้วยความทรงจำที่ผ่านมา จะขายก็ไม่กล้าขาย จะให้เช่าก็ไม่กล้าให้เช่า และสุดท้ายก็กลายเป็นบ้านร้างและพุพังไปตามกาลเวลา
เครดิตรูปภาพ: @hamzaerbay (Unsplash)
บ้านที่ถูกปล่อยร้าง ส่วนมากอยู่ที่ไหนกัน?
ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยเเละการสื่อสาร จังหวัดที่มีบ้านปล่อยทิ้งร้าง มากที่สุดคือ:
- ยามานาชิ (ฮนชู) 17.2%
- เอฮิเมะ (ชิโคขุ) 16.9%
- โคจิ (ชิโคขุ) 16.8%
- โทขุชิมา (ชิโคขุ) 16.6%
- คากาย่า (ชิโคขุ) 16.6%
อะไรคือความกังวลในเรื่องบ้านปล่อยทิ้งร้าง?
ในปัจจุบัน มีคำถามเกิดขึ้นว่า “ทำไมบ้านปล่อยทิ้งร้างจึงสร้างปัญหา?” อาจจะเเค่นึกว่าไม่เห็นมีอะไร ก็แค่บ้านปล่อยร้างเพราะอยู่ห่างไกลเมืองไม่มีคนอยากอาศัยอยู่ก็แค่นั้น ใช่ใหม?
แต่ในความเป็นจริงเเล้วมันอันตรายมาก เพราะมันมีโอกาสที่จะเกิดไฟใหม้, พังถล่มลงมา, และอาจมีคนจรจัด หรือสัตว์ เข้าไปอยู่อาศัย
และสถานที่รอบข้าง อาจโดยรุกราน โดยวัชพืชและต้นไม้ที่เติบโต โดยไร้คนสนใจ, กลิ่นเหม็น, และมลภาวะ อันเนื่องมาจากขยะและสิ่งของที่คนนำมาทิ้ง มันไม่ใช่เรื่องน่าเเปลกใจ ที่ณ สถานที่ใดที่มีบ้านปล่อยทิ้งร้าง จะทำให้คนอยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง มีคุณภาพชีวิตที่ต่ำลง จนถึงมูลค่าของสิ่งก่อสร้างโดยรอบลดลง
เครดิตภาพ: @mib32 (Unsplash)
เราจะหาข้อมูลของบ้านทิ้งร้างทางออนไลน์ได้ใหม?
มีความพยายามอย่างยิ่งยวด ในระดับภูมิภาคเเละในระดับท้องถิ่น ที่จะจัดการกับปัญหานี้ เรียกมันว่า “อาคิยะ-เเบ้งค์” ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อจะหาเจ้าของบ้านคนใหม่ให้กับบ้านทิ้งร้างเหล่านี้ ในบางกรณีจะมีการให้คำปรึกษาทางออนไลน์ แต่ในหลายๆชุมชนและในหลายๆเขตเทศบาลมีการจัดเก็บรายชื่อของบ้านปล่อยร้างเหล่านี้เอง ดั้งนั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ระหว่างเวบไซด์ของทางเขตเองกับเวบไซด์ของผู้ให้บริการในส่วนงานอื่น
จุดมุ่งหมายของ อาคิยะ-เเบ้งค์ คือ ไม่ว่าใครก็ตามที่เป็นผู้ให้บริการ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวกลางที่มาจากเขต ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้มีบทบาทสำคัญเเละทำให้พื้นที่ห่างไกลเหล่านี้ได้รับการกระตุ้น ทางด้านเศรษฐกิจอีกครั้ง ผ่านทางผู้ที่จะมาครอบครองบ้านทิ้งร้างเหล่านี้ มากไปกว่านั้น อาคิยะ-แบ้งค์ก็ไม่เหมือนเอเจนซี่ อสังหาริมทรัพย์ทั่วๆไป กล่าวคือ ทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นการประมูลการขาย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบทางด้านราคาอีกด้วย
บ้านทิ้งร้างเหล่านี้ สามารถเป็นเจ้าของได้ในราคาเเสนถูก อันเนื่องมาจากสภาวะการณ์ในปัจจุบัน การทำงานผ่านระบบทางไกล และเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น มีทั้งคนญี่ปุ่นเองหรือแม้แต่คนต่างชาติ เริ่มที่จะมองหา และครอบครองบ้านทิ้งร้างเหล่านี้มากขึ้น เพื่อหลีกหนีจากสถานที่อึกทึกครึกโครม และชีวิตอันวุ่นวายของเมืองใหญ่ การรีโนเวทบ้านทิ้งร้างมีค่าใช้จ่ายที่สูงทีเดียว แต่หน่วยงานรัฐบาลและทางเขต ให้การช่วยเหลือในเรื่องเงินในการปรับปรุงบ้าน และการลดภาษีให้อีกด้วย และยังรวมถึงเงินช่วยเหลือ ในด้านตัวติดตั้งเพิ่มเติมสำหรับแผ่นดินไหวและตัวประหยัดพลังงาน อย่างไรก็ตามปัญหาบ้านถูกทิ้งร้าง ก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าปัญหาเรื่องประชากรยังสวนทางกับจำนวนบ้านร้าง ที่เพิ่มขึ้นอย่างในปัจจุบัน
คุณอยากจะอาศัยในบ้านทิ้งร้างบ้างใหม?
ถ้าคุณอยากพักอาศัย ลงหลักปักฐานที่ญี่ปุ่น “อินาขะ” (ชนบท) กับการซื้อบ้านราคาถูกที่นี่? ถ้าสนใจล่ะก็ เป็นสัญญาณที่ดีที่จะไปหาข้อมูลทางออนไลน์ และศึกษาเกี่ยวกับ “อาคิยะ” บ้านญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งร้าง ให้มากขึ้นแล้วหละ
ผู้เเปล: เจติยา
บทความเพิ่มเติม:
- แม่น้ำสุมิดะ: ทิวทัศน์ริมแม่น้ำที่สวยที่สุดในโตเกียว
- ชิมมิ: ของกินที่หาชิมได้ยากของญี่ปุ่น
- มารู้จักขนมปังในแบบฉบับญี่ปุ่น: ขนมอบที่ต้องลอง
เครดิตรูปภาพ: @nameofmin (Unsplash)