คู่มือสู่โอมิคุจิ,ใบเซียมซีของญี่ปุ่น | Guidable - Your Guide to a Sustainable, Wellbeing-centred Life in Japan
a photo of a golden omikuji among plain omikuji tied to a post

คู่มือสู่โอมิคุจิ,ใบเซียมซีของญี่ปุ่น

By Devy Jun 17, 2022

This post is also available in: อังกฤษ

คุณเคยได้ยินคำว่า โอมิคุจิ omikuji (おみくじ) หรือเปล่า เมื่อไปศาลเจ้าหรือวัดในญี่ปุ่น? ถ้าใช่เคยลองที่จะเสี่ยงทายเจ้าโอมิคุจิดูบ้างใหม ถ้าคุณคุ้นเคยกับประเพณีของที่นี่มั่งเเล้วน่ะ?

ใบเซียมซี (โอมิคุจิ) เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของญี่ปุ่นดั้งเดิมแต่ยังคงมีอิทธิพลมาถึงปัจจุบันนี้ ในบทความนี้ เราจะเเนะนำคุณถึงความสนุกสนานและความน่าสนใจในเนื้อหาของใบเซียมซี(โอมิคุจิ)ให้กับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับธรรมเนียมของการเสี่ยงทายนี้

โอมิคุจิคืออะไร?

โอมิคุจิหรือใบเซียมซี เป็นกระดาษทำนายโชคชะตา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าซึ่งดวงชะตาจะมีคำทำนายถึงโชคลาภที่แตกต่างกัน

ก็เหมือนๆกับการทำนานโชคชะตาแบบอื่นๆ, ใบเซียมซีหรือโอมิคุจิ จะมีทั้งคำทำนายในทางที่ดีและทางที่ไม่ดี  ให้เเน่ใจว่าคุณอฐิษฐานให้ดีก่อนที่จะเลือกใบเซียมซี!

หลังจากเลือกใบเซียมซีได้แล้ว ก็ต้องคลี่ดูคำทำนายที่เขียนอยู่ในกระดาษ ว่าโชคของคุณจะเป็นยังไง

a photo of bad fortune omikuji tied to a temple

Pเครดิตภาพ: Johnnys_pic (Pixabays)

wealth, and general life. 

ใบเซียมซีจะทำนายเรื่องในชีวิตในอนาคต ในหลายเเง่มุมในชีวิตคุณ เช่นเรื่องสุขภาพ, ความรัก,ความร่ำรวย, และชีวิตของคุณในอนาคต

Japanese people love to spend the first day of the new year reading their omikuji to predict the year ahead. 

ชาวญี่ปุ่นมักจะใช้เวลาวันแรกของปีในการเลือกและอ่านใบเซียมซีของพวกเค้า เพื่อที่จะได้รู้คำทำนานในปีนั้นๆ

ส่วนมากใบเซียมซีจะมาในรูปกระดาษแบบพับเเผ่นเล็ก หรือในบางครั้งก็มัดมาพร้อมกับริบบิ้น พร้อมคำทำนายของคุณในนั้น

ปกติแล้ว คำทำนายจะมาในรูปแบบภาษาญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม พร้อมตัวคันจิที่เข้าใจยาก มันยากที่จะอ่าน ไม่เว้นแม้แต่สำหรับคนญี่ปุ่นเอง แต่อย่ากังวลไป! จะมีคนที่เข้าใจมันอยู่คุณสามารถขอความช่วยเหลือพวกเค้าได้ 

ภาพรวมโดยสังเขป

ตามประวัติศาสตร์ โอมิคุจิหรือใบเซียมซีนั้นจุดเริ่มต้นมาจากวัดในศาสนาพุทธในญี่ปุ่น จากสมัยเฮอัน ลัทธิเทนไดจากพระสงฆ์ชื่อเรียวเกน (คศ 912-คศ 985)

คำทำนายที่พิมพ์มาจะมาในลักษณะของบทกวี 5บรรทัด ที่เราจะเรียกมันว่า กังซันไดชิเฮียขุเซน Ganzan Daishi Hyakusen (元三大師百箋)

a photo of two girls reading their omikuji fortunes

เครดิตภาพ: Canva

บทกวีที่เขียนใน กังซันไดชิเฮียขุเซน ได้รับความนิยมอย่างมากมาตั้งแต่สมัยเอโดะ จนมาถึงในปัจจุบัน

ทั้งความโชคดีและความโชคร้ายที่เราจะเจอได้ในใบเซียมซี คำบรรยายจะมาในรูปแบบตัวคันจิแบบโบราณของญี่ปุ่น เรารวบรวมคำที่เจอได้บ่อยๆในใบเซียมซี ดังต่อไปนี้

  • โชคดีที่สุด (大吉, dai-kichi)
  • โชคดีปานกลาง (中吉, chū-kichi)
  • โชคดีเล็กน้อย (小吉, shō-kichi)
  • มีโชค (吉, kichi)
  • มีโชคบ้าง  (半吉, han-kichi)
  • โชคลาภภายภาคหน้า (末吉, sue-kichi)
  • โชคลาภเล็กน้อยในภายภาคหน้า (末小吉, sue-shō-kichi)
  • โชคร้าย (凶, kyō)

เเละยังมีคำที่เกี่ยวกับคำทำนายโชคชะตา ซึ่งเรารวมมาไว้ซึ่งอยู่ด้านล่างนี้อีกด้วย

  • โฮกาขุ (方角) – ความเป็นมงคล/ความอัปมงคล
  • เนไก-โกโตะ – สิ่งที่ปราถนาหรือความหวัง
  • มาจิบิโตะ – คนที่รอคอยหรือเนื้อคู่ 
  • อุเสะโมโนะ – การสูญเสีย
  • ทาบิดาฉิ – การเดินทาง 
  • อะคาไน – หน้าที่การงาน 
  • กะขุมง – การเรียนการศึกษา
  • โซวบะ – การค้าขาย
  • อาระโซอิโกโตะ – ความขัดแย้งหรือศัตรู 
  • เรนไอ – ความสัมพันธ์กับคนรัก
  • เทนเคียว – การโยกย้ายที่อยู่ 
  • ชุสซัง – การให้กำเนิดบุตร 
  • เบียวขิ – การเจ็บไข้ได้ป่วย
  • เอนดัง – พิธีวิวาห์หรือเกี่ยวกับการเเต่งงาน

เเละคุณก็ได้รู้ความหมายของตัวคันจิแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เขียนในกระดาษเซียมซีกันแล้ว อย่าเอาความโชคร้ายและความโชคดีไปผสมกันล่ะ!

เราจะไปเสี่ยงเซียมซีที่ไหนกัน?

ตามปกติเเล้วเราจะไปเสี่ยงเซียมซีกันที่ศาลเจ้าหรือวัดในศาสนาพุทธของญี่ปุ่นกัน

เราจะเจอที่เสี่ยงเซียมซีกันตรงใกล้ๆกับประตูทางเข้า หรือจุดนัดพบของนักท่องเที่ยว ก็แค่บริจาคเงินลงในตู้รับบริจาค และเลือกหยิบอนาคตคุณกันเลย ในบางศาลเจ้าหรือวัดบางเเห่ง จะขายใบเซียมซีที่เดียวกันกับที่วางขายเครื่องราง (omamori )

a photo of bad fortune omikuji tied to a pine tree

เครดิตภาพ: Canva

แล้วถ้าได้ใบเซียมซีไม่ดีละทำไงดี? ที่ญี่ปุ่น จะมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ถ้าคุณได้ใบเซียมซีที่ไม่ดี คุณก็แค่พับใบเซียมซีเป็นเส้นยาวและผูกไว้ตามต้นสนหรือต้นไม้อื่นๆที่คนที่ได้ใบเซียมซีไม่ดีเหมือนกันผู้กไว้ก่อนหน้านี้ การผูกใบเซียมซีไว้ตามต้นไม้นี้ มีความเชื่อว่าจะทำให้คำทำนายไม่เป็นจริง และหลังจากนี้นักบวชหรือพระสงฆ์ท่านจะเผาใบเซียมซีทิ้งไป ซึ่งหมายความว่าโชคร้ายของเราได้ถูกเผาไปด้วย

คุณรู้หรือเปล่าว่าทำไมเราต้องผูกใบเซียมซีที่ความหมายไม่ดีไว้ที่กิ่งต้นสนด้วย เพราะต้นสนในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า มัทซึ  “松 หรือ “matsu,” ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า “คอย” หรือ “待つ,” ที่เชื่อว่าความโชคร้ายจะมาไม่ถึงเรา

และเมื่อได้ใบเซียมซีที่ทำนายทายทักในเรื่องที่ดี เจ้าของใบเซียมซีก็จะเก็บใบที่ได้ไว้ในกระเป๋าสตางค์ของตัวเอง หรือผูกไว้กับต้นไม้ในสวนบ้านของตัวเอง เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้โชคดีอยู่กับตัวเองได้นานๆ

ซุ้มเซียมซี โดยปกติจะหาได้ทั่วไปตามศาลเจ้าเเละวัดทั่วญี่ปุ่น เเละผู้คนมากมายจะไม่มีทางพลาดโอกาสที่จะลองเสี่ยงทายดวงชะตาเพื่อรู้อนาคตของตัวเอง เมื่อพวกเขามีโอกาสไปศาลเจ้าหรือวัดเหล่านั้น

คุณอยากจะลองเสีั่ยงเซียมซีเพื่อรู้ชะตาชีวิตในอนาคตมั่งใหม?

คุณเป็นคนหนึ่งใหมที่อยาก รู้ลึกเข้าไปในวัฒนธรรมของญี่ปุ่น การลองเสี่ยงโอมิคุจิหรือเซียมซีแบบญี่ปุ่นถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีทีเดียว

คุณจะหาโอมิคุจิได้ตามศาลเจ้านิกายชินโตของญี่ปุ่น หรือวัดพุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งมีอยู่ทั่วไปในญี่ปุ่น ลองเสี่ยงหยิบกระดาษทำนายโชคชะตาเเผ่นพับเล็กๆได้ตลอดเวลาที่คุณอยากลอง

คำทำนายโชคชะตารอคุณอยู่นะ ขอให้โชคดี!

ผู้เขียน: Devy Mufliha

อินโดนีเซีย

ผู้แปล: เจติยา

บทความเพิ่มเติม:

เที่ยวเกียวโต: อาราบิก้า คาเฟ่, วัดและอีกมากมาย

Featured photo credit: Canva